วิชาวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบัน เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในงานอาชีพต่างๆ วิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล
คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ทั้งการใช้ชีวิตมีแบบแผน
ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบช่วยในการคาดการณ์
วางแผน ตัดสินใจ
แก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเราล้วนเป็นวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น
การเรียนการสอนเรื่องระบบย่อยอาหาร ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เป็นสาระการเรียนรู้หนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนถึงเหตุผล กระบวนการคิด
การแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ ที่สำคัญยิ่งคือ ความรู้วิทยาศาสตร์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศและดำเนินชีวิตร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข
จากการที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายจากกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ให้สอนในวิชาวิทยาศาสตร์ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่
1 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ในส่วนของเรื่องระบบย่อยอาหาร พบว่านักเรียนประสบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้เรื่องระบบอวัยวะภายในต่างๆ ซึ่งนักเรียนไม่เข้าใจหรือร้างแต่ไม่ถูกต้อง
เพราะด้วยเนื้อหาในบทเรียนมีจำนวนมาก และยากต่อการเข้าใจ โดยเห็นได้จากผลการสอบกลางภาค
คะแนนสอบของนักเรียนในบทเรียนนี้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออกมาต่ำกว่าเกณฑ์ และนักเรียนมีพฤติกรรมไม่ใส่ใจในการเรียน
ไม่ตระหนักถึงความสำคัญในศึกษาเท่าที่ควร
ผู้วิจัยจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนจัดการสอนให้ดีขึ้น
โดยต้องมีวิธีที่ให้นักเรียนสามารถฝึกฝนด้วยตนเองได้
การทำวิจัยเรื่องการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องระบบย่อยอาหาร
วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครูที่จัดการเรียนการสอนโดยการใช้และไม่ใช้เกม เรามาย่อยกันเถอะ
และสถานการณ์จำลอง เป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสมที่จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะการคิด
เป็นสื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมีการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ
มีข้อชวนคิดและคำถามท้ายกิจกรรมให้นักเรียนฝึกคิดแล้วตอบ เป็นการช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
เรียนรู้อย่างอิสระ มีความสนใจ ไม่ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย
ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาในทุกๆด้าน โดยการพัฒนาเกมเรามาย่อยกันเถอะ และเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียน
วิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นปีที่
1 โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการเรียนรู้ การค้นคว้าด้วยตนเอง
เกิดการพัฒนาความรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นไปได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น