ชั้นประกาศนียบัตรชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
เกม เรามาย่อยกันเถอะ
วัตถุประสงค์ของเกม
1.
เพื่อให้นักเรียนรู้จักอวัยวะย่อยอาหาร
2.
เพื่อให้นักเรียนรู้จักหน้าที่องระบบย่อยอาหาร
3.
เพื่อให้นักเรียนเกิดความสามัคคีภายในกลุ่ม
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เมื่อผู้เรียนเรียนรู้เรื่องของระบบย่อยอาหารแล้วผู้เรียนสามารถ
:-
1.
ติดภาพส่วนประกอบของระย่อยอาหารได้ถูกต้อง
2.
บอกหน้าที่ของอวัยวะระบบย่อยอาหารได้ถูกต้อง
3.
จับคู่อวัยวะย่อยอาหารกับสารอาหารได้ถูกต้อง
อุปกรณ์
1.
โปสเตอร์รูปร่างกายมนุษย์
2.
แผ่นภาพอวัยวะ
3.
บัตรคำส่วนประกอบอวัยวะ
4.
รูปภาพอาหาร
5.
บัตรคำสารอาหาร
6.
ลูกปิงปอง
7.
ช้อน
8.
นาฬิกาจับเวลา
บทบาทผู้เล่น
1. ผู้เล่นแต่ละทีมส่งตัวแทนในการตักลูกปิงปองและหยิบบัตรคำ
2. ผู้เล่นช่วยกันติดบัตรคำลงบนโปสเตอร์
กติกา
1.
เวลาในการเล่นเกมทั้งหมด 15 นาที
2.
เวลาในการนำบัตรคำมาติดภายในเวลา 2
นาที
3.
ถ้าทำลูกปิงปองหล่น
ต้องกลับไปเริ่มต้น
4.
การนับคะแนน ถ้าติดบัตรคำได้ถูกต้อง 1
ตำแหน่ง จะได้รับคะแนน 1 คะแนน
5.
ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ
ขั้นตอนการเล่น
1.
แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มๆละ 5 คน โดยการจับสลากตัวเลข
2.
ให้ตัวแทนกลุ่มนำโปสเตอร์รูปร่างกายไปไว้ที่กลุ่มของตัวเอง
3.
สมาชิกกลุ่มทีละ 1 คน ใช้ตะเกียบคีบลูกปิงปองไปวางที่จุดวางบัตรคำและแผ่นอวัยวะ
4.
ให้นักเรียนหยิบแผ่นภาพอวัยวะ
บัตรคำอย่างละ 1 ใบวิ่งกลับไปที่กลุ่ม เพื่อติดบนโปสเตอร์ร่างกาย
5.
ให้กรรมการตรวจสอบความถูกต้อง
ให้คะแนน และเฉลย ภายในเวลา 5 นาที
6.
กรรมการแจกรูปภาพอาหารให้แต่ละกลุ่มๆละ
1 ชนิด
7.
ให้สมาชิกกลุ่ม 2 คนเลี้ยงลูกปิงปองโดยใช้นิ้วชี้เลี้ยงลูกปิงปอง ไปยังจุดวางบัตรคำ
ภายในเวลา 1 นาที
8.
นักเรียนหยิบบัตรคำกลับมาติดที่รูปภาพร่างกาย
โดยให้ติดบัตรคำสารอาหารให้ตรงกับจุดอวัยวะที่ ย่อย
9.
กรรมการตรวจสอบความถูกต้อง กลุ่มใดได้คะแนนมากที่สุด
เป็นผู้ชนะ
10. ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ
สถานการณ์จำลอง โรคที่เกิดจากระบบย่อยอาหาร
วัตถุประสงค์สถานการณ์จำลอง
เพื่อให้นักเรียนทราบถึงโรคที่เกิดจากระบบย่อยอาหาร
วิธีการเล่น
1. แบ่งนักเรียนให้มีบทบาทในเกมดังนี้
1.1 ให้นักเรียน 4 คน
เป็นกรรมการคอยช่วยเหลือและควบคุมการเล่น
1.2 ให้นักเรียน 3 คน เป็นผู้สังเกตการณ์ ทำหน้าที่สังเกตพฤติกรรมผู้เล่น
1.3 ให้นักเรียน 1 คน เป็นแพทย์
1.4 ให้นักเรียน 5 คน เป็นพยาบาล มีหน้าที่ดังนี้ 1
คน มีหน้าที่ทำบัตร, 1 คน ทำหน้าที่
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง, 1 คน มีหน้าที่ วัดความดัน, 1
คน มีหน้าที่ จัดคิวคนป่วย, 1 คน
มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์
1.5
ให้นักเรียน 1 คน เป็นเจ้าหน้าที่ประจำห้องสอบถาม
1.6 ให้นักเรียน 3 คน เป็นญาติผู้ป่วย
1.7 ให้นักเรียน 2 คน เป็นเภสัช
1.8 ให้นักเรียน 1 คน เป็นเจ้าหน้าที่การเงิน
1.9 ให้นักเรียน 1 คน เป็นเจ้าหน้าที่จับเวลา
เพื่อให้เป็นไปตามเวลาในการดำเนินการเล่น
1.10
ให้นักเรียน 3 คน เป็นผู้ป่วย ได้แก่ 1
คน เป็นโรคกรดไหลย้อน, 1 คน เป็นโรคกระเพาะ
และอีก 1 คน อาหารเป็นพิษ
2. ให้แต่ละคนศึกษาบทบาทสถานการณ์จำลองจากใบงาน และแสดงบทบาทภายในเวลา 20
นาที
3. ให้ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอ เมื่อมีอาการอย่างไรถึงจะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
4. ให้กรรมการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทเหตุการณ์
และผู้สังเกตการณ์ออกมาสรุปภาพรวมการดำเนินการเล่นบทบาทสถานการณ์จำลอง
5. ครูสรุปการเล่นเกมและสถานการณ์จำลองว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรกับระบบย่อยอาหาร
บทบาทสถานการณ์
- แพทย์ : ตรวจอาการ และวินิจฉัยผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อสรุปอาการ
- พยาลทำบัตร : บริการทำบัตรสำหรับผู้ป่วย
-
พยาบาลชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง : บริการชั่งน้ำหนัก
วัดส่วนสูงให้ผู้ป่วย
- พยาบาลจัดคิวหน้าห้องตรวจ
: จัดคิวและเรียกผู้ป่วยเข้าห้องตรวจ
-
พยาบาลผู้ช่วยแพทย์ : คอยช่วยเหลือ
หยิบจับเครื่องมือให้แพทย์ในขณะตรวจผู้ป่วย
-
เจ้าหน้าที่ประจำห้องสอบถาม : คอยช่วยเหลือ
แนะนำเวลาผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยมาสอบถามเรื่องต่างๆ
- ญาติผู้ป่วย : พาผู้ป่วยมาโรงพยาล และคอยช่วยเหลือผู้ป่วย
- เภสัช : จัดยาตามสั่งแพทย์
-
เจ้าหน้าที่การเงิน : เก็บเงินค่ารักษาพยาบาลและค่ายาต่างๆ
- ผู้ป่วย : ปวดท้องเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
ใบงานบทบาทสถานการณ์จำลอง
ณ
โรงพยาลแห่งหนึ่ง ผู้ป่วย 3 คนมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง
- ญาติผู้ป่วย : ขอโทษนะคะ ไม่ทราบว่าห้องทำบัตรผู้ป่วยใหม่อยู่ตรงไหนคะ
- เจ้าหน้าที่ห้องสอบถาม
: เดินตรงไป เลี้ยวซ้าย ห้องทำบัตรจะอยู่ขวามือนะคะ
พอถึงหน้าห้องทำบัตร
- ญาติผู้ป่วย : จะมาทำบัตรผู้ป่วยใหม่คะ พึ่งมารักษาครั้งแรก
- เจ้าหน้าที่ทำบัตร
: เชิญกรอกข้อมูลส่วนตัวก่อนนะคะ แล้วนั่งรอสักครู่(ทำบัตรเสร็จเรียกผู้ป่วยมารับบัตร)
ญาติพาผู้ป่วยไปยื่นบัตรรักษา
- พยาบาลชั่งน้ำหนัก
วัดส่วนสูง : เรียกผู้ป่วยคนที่1, 2 และ 3
มาชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ตามลำดับ
- พยาบาลวัดความดัน
: เรียกผู้ป่วยคนที่1, 2 และ 3
มาวัดความดัน และเขียนใส่กระดาษแนบบัตร ตามลำดับ (แล้วให้ผู้ป่วยไปนั่งรอคิวหน้าห้องเพื่อพบแพทย์)
- พยาบาลจัดคิวหน้าห้องตรวจ
: เรียงลำดับคิวก่อน-หลัง แล้วเรียกผู้ป่วยคนที่1
เข้าพบแพทย์ (ผู้ป่วยคนที่1 เดินเข้าห้องตรวจ)
- แพทย์ : เป็นอะไรมาคะ เล่าอาการให้หมอฟังซิ
- ผู้ป่วยคนที่
1 : ดิฉันรู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก ท้องอืด จุกเสียด แน่นท้องคะหมอ
- แพทย์ : อาการแบบนี้เป็นอาการขั้นต้นของโรคกรดไหลย้อนนะคะ เดี๋ยวหมอให้ยาไปทานก่อน
ทานยาให้ หมดตามที่หมอให้ถ้าไม่ดีขึ้นให้กลับมาใหม่นะ
- พยาลผู้ช่วยแพทย์
: ถือแฟ้มผู้ป่วยพาผู้ป่วยคนที่1 ไปชำระเงินและรับยา
- พยาบาลจัดคิวหน้าห้องตรวจ
: เรียกผู้ป่วยคนที่2 เข้าพบแพทย์
(ผู้ป่วยคนที่2 เดินเข้าห้องตรวจ)
- แพทย์ : เป็นอะไรมาคะ เล่าอาการให้หมอฟังซิ
- ผู้ป่วยคนที่2 : คือหนูปวดท้องบ่อยๆ เวลาท้องว่าง ปวดแบบบิดเกร็งบริเวณทั่วทั้งท้อง
เป็นๆหายๆ มานานแล้ว
- แพทย์ : อาการปวดท้องแบบนี้ เดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย
เป็นอาการของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารนะ หมอจะให้ยา ไปกินก่อนซัก 3 อาทิตย์ ถ้าไม่ดีขึ้นให้กลับมาใหม่นะ
- พยาลผู้ช่วยแพทย์
: ถือแฟ้มผู้ป่วยพาผู้ป่วยคนที่2 ไปชำระเงินและรับยา
- พยาบาลจัดคิวหน้าห้องตรวจ
: เรียกผู้ป่วยคนที่3 เข้าพบแพทย์
(ผู้ป่วยคนที่3 เดินเข้าห้องตรวจ)
- แพทย์ : เป็นอะไรมาคะ เล่าอาการให้หมอฟังซิ
- ผู้ป่วยคนที่
3 : เมื่อคืนหนูกินส้มตำมา
แล้วรู้ปวดท้อง แล้วท้องเสียทั้งคืน และก็คลื่นไส้อาเจียนด้วยคะ
- แพทย์ : อาการแบบนี้เป็นอาการของคนที่อาหารเป็นพิษนะคะ เดี๋ยวหมอให้ยาและเกลือแร่ไปทานก่อน
ทานยาให้หมดตามที่หมอให้ ถ้าไม่ดีขึ้นให้กลับมาใหม่นะ
- พยาลผู้ช่วยแพทย์
: ถือแฟ้มผู้ป่วยพาผู้ป่วยคนที่2 ไปชำระเงินและรับยา
- เจ้าหน้าที่การเงิน
: เรียกชื่อผู้ป่วยคนที่ 1, 2 และ
3 ตามลำดับมาจ่ายเงิน
- ผู้ป่วยคนที่1, 2
และ 3 : จ่ายเงินแล้วรอรับยา
- เภสัช : ช่วยกันจัดยาให้ผู้ป่วยตามแพทย์สั่ง เสร็จแล้วเรียกผู้ป่วยคนที่ 1,
2 และ 3 มารับยาตามลำดับ
- ญาติและผู้ป่วย
: รับยาเสร็จก็กลับไปพักผ่อนที่บ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น